Tanii Wiki
Advertisement

เชียงหลวง

ประเทศ สารขัณฑ์
รัฐ เชียงหลวง
ผู้ว่าการเมือง กาน แม่นใจตรง
ประชากร (ตัวเมือง) 3,664,597 (4154)
ประชากร (พื้นที่) 5,018,641 (4154)
ภาษา สารขัณฑ์, อีสาน
เขตเวลา MT+8 เวลากลางสารขัณฑ์

เชียงหลวง (ภาษาบาหม่อน: "เชียงลอง", ภาษาเยว่: 大城, pinyin: dàchéng "ปราสาทใหญ่") เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐเชียงหลวง และเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเชียงหลวง เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับหกของสารขัณฑ์ในด้านประชากรรองจากสหัสวารี วัฒนานคร ตานนะคอน นพรัฐ และ สุพรรณภูมิ อยู่ห่างจากสหัสวารีประมาณ 800 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเวียงแก่นซึ่งเป็นเมืองหลวงระดับรัฐที่ใกล้ที่สุดราว 430 กิโลเมตร

เชียงหลวงเป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณ เพราะตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาจึงมีภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวและธัญพืช มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่านมาจากเยว่ และเป็นจุดตัดการคมนาคมสำคัญทั้งเส้นทางสายเทือกเขาจากหลวงน้ำทา ตานนะคอนและเวียงคำ และเส้นทางสายเกลือซึ่งขึ้นจากป่าซางไปยังเยว่ แต่ในสมัยอาณาจักรตานนะคอนขยายอาณาเขต เชียงหลวงถูกยึดและถูกรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ความคึกคักในการค้าขายจึงลดลงไปบ้างเนื่องจากกลายเป็นเมืองเกือบชายขอบของอาณาจักร แต่ก็ยังคงความเป้นจุดตัดทางคมนาคมที่สำคัญเนื่องจากตานนะคอนอยู่ลึกเข้าไปในภูเขาซึ่งเดินทางได้ลำบาก จนกระทั่งเมื่ออาณาจักรตานนะคอนเสื่อมอำนาจและเสียเอกราชให้กับอาณาจักรสารขัณฑ์ ผู้ปกครองของสารขัณฑ์คิดจะลดอำนาจของตานนะคอน จึงส่งเสริมการค้าขายของเชียงหลวง แม้จะไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการลดความเจริญของตานนะคอน แต่ก็ทำให้เชียงหลวงกลับเป็นศูนย์กลางทางการค้าและวิทยาการอีกครั้ง และเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบราชสหพันธรัฐ เชียงหลวงก็เป็นหนึ่งในเมืองที่มีโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นระเบียงอุตสาหกรรมภาคเหนือและอีสานควบคู่ไปกับตานนะคอน เวียงคำและเวียงแก่น

ปัจจุบัน เชียงหลวงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางนิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในสารขัณฑ์ โดยเฉพาะเมืองกุดโอซึ่งเป็นเมืองลูกที่อยู่ไกลออกไปทางเหนือสี่สิบกิโลเมตรซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญๆมากมาย เช่น โรงงานสร้างรางของการรถไฟสารขัณฑ์ โรงงานหนึ่งของแสนพิงค์กรุ๊ปก็ตั้งอยู่ที่กุดโอเช่นเดียวกัน

ประวัติ[]

ภูมิประเทศ[]

เชียงหลวงตั้งอยู่กึ่งกลางแอ่งเชียงผาน ซึ่งเป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ระหว่างเทือกเขาตานปันน้ำตะวันออกและเทือกเขาม่าน เชียงหลวงอยู่ในระดับความสูง 1,634 เมตรจากระดับน้ำทะเล แม่น้ำเชียงหลวง ซึ่งเกิดจากการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำหนานซื่อและแม่น้ำแตงไหลผ่านตัวเมืองทางตะวันออก บรรจบกับแม่น้ำอิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายสั้นๆจากเทือกเขาม่านทางด้านใต้ของเมือง ในขณะที่ทางตะวันตกเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

ภูมิอากาศ[]

แม้จะอยู่ในละติจูดต่ำกว่าตานนะคอนเพียงเล็กน้อย แต่ความสูงที่น้อยกว่าและการที่ไม่มีภูเขาโอบล้อมก็ทำให้เชียงหลวงมีภูมิอากาศที่สบายและเป็นมิตรมากกว่าตานนะคอน เชียงหลวงถือเป็นเขตเงาฝนในฤดูหนาวซึ่งมีลมพัดจากด้านตะวันออกเฉียงใต้ (ในขณะที่ตานนะคอนซึ่งมีทะเลสาบขวางกั้นลมนี้อยู่จะมีหิมะตกหนักในช่วงนี้) ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนซึ่งตานนะคอนมีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เชียงหลวงกลับมีฝนตกอันเนื่องมาจากลมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดมาจากทะเลฝั่งตะวันตก ทำให้ภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกข้าวและธัญพืชรวมทั้งผลไม้เมืองหนาว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเชียงหลวงกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมเต็มตัว ลมนี้จึงไม่มีประโยชน์นัก มีเพียงเมืองชนบทหรือแถบชานเมืองเท่านั้นที่ยังคงทำการเกษตรอยู่

เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ (องศาเซลเซียส) 4 7 11 18 25 34 30 30 21 10 7 3 11.83
อุณหภูมิเฉลี่ยกลางวัน (องศาเซลเซียส) -12 -6 0 8 16 22 20 22 12 1 -3 -8 6.00
อุณหภูมิเฉลี่ย (องศาเซลเซียส) -16 -9 -3 4 11 18 16 18 8 -2 -6 -10 2.38
อุณหภูมิเฉลี่ยกลางคืน (องศาเซลเซียส) -20 -12 -6 0 6 13 12 14 4 -5 -9 -12 -1.25
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ (องศาเซลเซียส) -31 -25 -20 -17 -9 -9 -8 -10 -16 -21 -26 -30 -18.5

ประชากรศาสตร์[]

ประชากรเกือบทั้งหมดของเชียงหลวงเป็นชนชาติเวียง จากการสำรวจยีนของประชากรที่อาศัยอยู่ในและรอบตัวเมือง พบว่ากว่าครึ่งสืบเชื้อสายโดยตรงมาจากชาวผานซึ่งเป็นชนชาติเวียงโบราณซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงผานในอดีต

ชาวเชียงหลวงพูดภาษาอีสานเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ยังพูดภาษาสารขัณฑ์กลางได้อย่างคล่องแคล่ว

การเมือง[]

การแบ่งการปกครอง[]

กีฬา[]

วัฒนธรรม[]

การศึกษา[]

เศรษฐกิจ[]

การขนส่ง[]

ทางอากาศ[]

ท่าอากาศยานนานาชาติเวียงเชียงหลวง (IAAT: VCL, IACA: VSVC) รองรับผู้โดยสารปัละราว 28 ล้านคนและเป็นศูนย์กลางการบินในภาคอีสาน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นท่าอากาศยานใหม่ สร้างเสร็จในปี 4148 เพื่อทดแทนท่าอากาศยานเชียงหลวง-กุดโอซึ่งมีขนาดเล็กและไม่เพียงพอกับความต้องการ ท่าอากาศยานแห่งนี้อยู่ห่างจากเมืองไปทางเหนือประมาณ 18 กิโลเมตร และเชื่อมต่อกับเมืองด้วยรถไฟฟ้าท่าอากาศยานเวียงเชียงหลวง นอกจากนั้นยังเชื่อมเข้ากับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตานนะคอน-เมืองดาบ ซึ่งผู้โดยสารสามารถขึ้นรถได้โดยตรงจากสถานีรถไฟที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานเชียงหลวง-กุดโอยังคงให้บริการเที่ยวบินขนส่งสินค้าเพื่อป้อนให้นิคมอุตสาหกรรมกุดโอที่อยู่ใกล้ๆ

ขนส่งมวลชน[]

ถนน[]

รถไฟ[]

สถานีรถไฟหลักเชียงหลวงให้บริการผู้โดยสารราว 280,000 คนในแต่ละวัน เชียงหลวงยังมีสถานีรถไฟหลักอีกสองแห่ง ได้แก่สถานีรถไฟเชียงหลวง-อุดอนวัตทางตะวันตกของเมือง และสถานีรถไฟเชียงหลวง-กุดน้ำกินทางตะวันออกของเมือง

เชียงหลวงเป็นหนึ่งในสถานีหลักบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหัวจรวดสายตานนะคอน-เมืองดาบ และเมื่อการขยายเส้นทางเฟสแรกเสร็จสิ้นในปี 4157 เชียงหลวงจะเป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตานนะคอน-สุพรรณภูมิ และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเวียงแก่น-เมืองดาบ

เรือ[]

แม่น้ำเชียงหลวงมีความกว้างมากกว่าแม่น้ำตานตอนต้น และมีความเชี่ยวของกระแสน้ำน้อยกว่า ทำให้อุตสาหกรรมการเดินเรือของเชียงหลวงคึกคักกว่าตานนะคอน มักมีเรือขนส่งสินค้าขนาดกลางล่องขึ้นจากสหัสวารีไปตามแม่น้ำตาน และไปแยกจากแม่น้ำตานใกล้เมืองเวียงแก่น

จักรยาน[]

ดูเพิ่มเติม[]

  • รัฐเชียงหลวง
  • ระเบียงอุตสาหกรรมภาคเหนือและอีสาน


เมืองหลวงระดับรัฐของสารขัณฑ์
กรีบุรี · เกาะยาว · เขาขวาง · คีรีรัฐนิคม · เชียงหลวง · ตานนะคอน · ท่าฉลอม · ธรรมสพณ์ · นครเขื่อนขันธ์ · นครคีรี · นพรัฐ · นิลธานี · ป่าซาง · ป่าหมอก · ไพรสุข · มาดีเราะห์ · มานาที · แม่งัด · แม่ละเมา · เมืองดาบ · ริมบรรพต · ล้านเวียง · แหลมสก · วัฒนานคร · เวียงแก่น · เวียงคำ · สมุทรธานี · สหัสวารี · สองแคว · สุพรรณภูมิ · หาดป่าแก้ว · อะระวิน ·
Advertisement